More Website Templates @ TemplateMonster.com -September 19th, 2011!
  • โครงการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน

     นับจากเหตุการณ์พิบัติภัยสึนามิในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทย หลังเหตุการณ์ครั้งนั้นประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาภัยธรรมชาติขนาดกลางถึงใหญ่อีกหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นดินถล่มทางตอนใต้ ไฟป่าหมอกควันและดินโคลนถล่มทางภาคเหนือ จากพิบัติภัยต่างๆที่กล่าวมาทำให้เราพบว่า เมื่อใดก็ตามที่ภัยเหล่านั้นเกิดขึ้น ความฉุกละหุกและยากลำบากในการเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และมีความจำเป็นต้องมีระบบการประเมิน - วิเคราะห์ - ทำนาย เพื่อการวางแผน การเข้าไปจัดการแก้ไขอย่างมีระบบและทันท่วงที นอกจากนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการฟื้นฟูชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน จึงทำหน้าที่เพื่อเป็นโครงการฯ คู่ขนานที่ช่วยลดช่องว่างในสถานการณ์ภัยพิบัติขนาดใหญ่ที่เกินกำลังของรัฐ หรือสถานการณ์ที่ความเสียหายอยู่นอกเหนือการประเมินของรัฐ ซึ่งผู้ประสบภัยไม่อาจเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูชุมชนด้วยตนเองได้ทั้งหมด จึงเกิดการทำงานของอาสาสมัครภาคประชาชน ผ่านการประสานขององค์กรพัฒนาเอกชน และที่สำคัญการทำงานของอาสาสมัครภาคประชาชนทำให้ภารกิจในการช่วยเหลือและฟื้นฟูนั้นดำเนินไปได้อย่างทันท่วงที

  • การเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดภัยพิบัติ

  • อุทกภัย

    อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่าหรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ ชนิดของอุทกภัย

    วิธีป้องกันภัยจากอุทกภัย

    1) ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง

    2) ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง

    3) ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร

    4) กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้

    5) หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน



















  • แผ่นดินไหว

    เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ

    วิธีป้องกันภัยจากแผ่นดินไหว

    1.การเตรียมความพร้อม

    ต้องตัดกระแสไฟฟ้าทุกอย่างภายในบ้าน ไม่วางของหนักไว้บนชั้นสูงๆหากต้องการหลบภัยควรหลบใต้เฟอร์นิเจอที่มั่นคง เช่นใต้โต๊ะ และควรเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นให้พร้อม เช่น ไฟฉาย กระเป๋ายาในยามจำเป็น

    2.เมื่อเกิดแผ่นดินไหว

    อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ให้อยู่กับที่ไม่ควรวิ่งเข้า ออกไปไหน ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่างและประตูที่จะออกข้างนอก ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจาก ฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

    3. เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง

    รีบตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลทันที สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่บนตึกควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ หากอยู่ที่บ้านให้ตรวจดูท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า ถ้าพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้าขึ้น เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้ส่งข่าว อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่ สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษ แก้วและสิ่งหักพังทิ่มแทง





  • สึนามิ

    สึนามิ (tsunami) เป็นคลื่นขนาดยักษ์ที่มีกำเนิดจากในมหาสมุทรและเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่ง สึนามินั้นเกิดจากการแทนที่น้ำอย่างรุนแรง การเกิดภูเขาไฟระเบิดในทะเล ดินถล่มในทะเล การเกิดแผ่นดินไหวบริเวณชายฝั่งเป็นต้น

    การป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ

    1.เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่ง ไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางการ เนื่องจากคลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง

    2.เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน

    3..สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง

    4.ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก

    5.คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้

    6.ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

    7.หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ

    8.หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง

    9.วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น

    10.จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง

    11.ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว

    12.วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานะการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

    13.อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน

    14.คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานะการณ์


  • ดินถล่ม

    ดินถล่ม (Landslide or Mass movement) คือการเคลื่อนที่ของมวลดิน หรือหิน ลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก โดยปรกติ ดินถล่มที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่ “ น้ำ ” จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่มเสมอ โดยน้ำจะเป็นตัวลดแรงต้านทานในการเคลื่อนตัวของมวลดินหรือหิน และน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้คุณสมบัติของดินที่เป็นของแข็งเปลี่ยนไปเป็นของไหลได้

    การป้องกันภัยจากดินถล่ม

    1.ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ต้องเฝ้าระวังกันให้ดี โดยให้อพยพ หรือให้หนีไปที่สูงๆ และต้องรีบแจ้งต่อๆ ให้รู้ทั่วกันโดยเร็ว

    2.ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะจะโดนซากต้นไม้ ก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนถึงตายได้

    3.ให้หาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะเอาไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้

    4.อพยบหรือเคลื่อนย้ายมาอยู่ในบริเวณที่โล่งแจ้งและหลีกเลี่ยงบริเวณเส้นทางที่ดินโคลนถล่ม นอกจากนี้ท่านยังต้องตื่นตัวต่อการรับมือจากเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลาอย่าวางใจเพราะเคยมีผู้เสียขีวิตจากการนอนโดยไม่ระวังมาแล้วหลายราย ค่อยสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบๆข้างอยู่เสมอ ต้องติดตามข่าวสารจากวิทยุพกพาเกี่ยวกับการรายงานของปริมาณน้ำฝนและการเข้าช่วยเหลือของหน่วยงานกู้ภัย








  •       

    แผนที่

  • ความรู้เกี่ยวกับ ภัยพิบัติ ต่อ

    ไฟป่า

    ไฟป่า(Wild Fire) คือ ไฟที่เกิดขึ้นแล้วลุกลามไปได้โดยปราศจากการควบคุมไฟป่าอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์แล้วส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไฟป่าที่เกิดขึ้นบริเวณภูขาจะมีความรุนแรงและขยายพื้นที่ได้เร็วกว่าพื้นราบ เช่น ลูกไม้ กล้าไม้เล็กๆ ในป่า ถูกเผาทำลาย หมดโอกาสเติบโตเป็นไม้ใหญ่ส่วนต้นไม้ใหญ่หยุดการเจริญเติบโต เนื้อไม้เสื่อมคุณภาพลง เป็นแผล เกิดเชื้อโรค และ แมลงเข้ากัดทำลายเนื้อไม้ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์เปลี่ยนสภาพเป็นทุ่งหญ้าไปในที่สุด

    อุทกภัย

    อุทกภัย คือ ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม หรืออันตรายอันเกิดจากสภาวะที่น้ำไหลเอ่อ ล้นฝั่งแม่น้ำ ลำธาร หรือทางน้ำ เข้าท่วมพื้นที่ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ได้อยู่ใต้ระดับน้ำ หรือเกิดจากการสะสมน้ำบนพื้นที่ซึ่งระบายออกไม่ทันทำให้พ้นที่นั้นปกคลุมไปด้วยน้ำ โดยทั่วไปแล้วอุทกภัยมักเกิดจากน้ำท่วม ซึ่งสามารถแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือ 1) น้ำท่วมขัง/น้ำล้นตลิ่ง เป็นสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเนื่องจากระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ๆ มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเกิดจากฝนตกหนัก ณ บริเวณนั้นๆ 2) น้ำท่วมฉับพลัน เป็นภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีความชันมาก และมีคุณสมบัติในการกักเก็บหรือการต้านน้ำน้อย เช่น บริเวณต้นน้ำซึ่งมีความชันของพื้นที่มาก พื้นที่ป่าถูกทำลายไปทำให้การกักเก็บหรือการต้านน้ำลดน้อยลง บริเวณพื้นที่ถนนและสนามบิน เป็นต้น หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ